:
เทศบาลตำบลชุมแสง ยินดีให้บริการ ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์ : 038-029-490 , 038-029-491 , 038-029-492

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

 

ลักษณะที่ตั้ง/อาณาเขต/ภูมิอากาศ

ทิศเหนือ        จากหลักเขตที่ 1 เป็นเส้นเรียบริมคลองน้ำดำ ถึงหลักเขตที่ 2

ทิศตะวันออก  จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้  ถึงหลักเขตที่ 5

ทิศใต้          จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหวงแผ่นดินหมายเลข 344

(บ้านบึง-แกลง) ถึงหลักเขตที่ 7

ทิศตะวันตก     จากหลักเขตที่  7 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (บ้านบึง-แกลง) ถึงหลักเขตที่ 9

ลักษณะภูมิอากาศ

เป็นแบบร้อนชื้น ประกอบด้วยฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูหนาว

 

การศึกษา

การศึกษาในเทศบาลตำบลชุมแสง

1) มีโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านชุมแสง และ โรงเรียนบ้านเขาตลาด

2) มีโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 1 แห่ง คือ โรงเรียนวังจันทร์วิทยา

3) มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชุมแสง

 

ศาสนา

 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ

 จำนวนสถาบัน และองค์กรทางศาสนา มี 2 แห่ง ได้แก่วัดชุมแสง และ วัดเขาตลาด

 จำนวนผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด

 จำนวนผู้นับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด

 จำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด

 จำนวนผู้นับถือศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ  4 ของประชากรทั้งหมด

 

 ประเพณีศิลปวัฒนธรรม

ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญภายใน ท้องถิ่น  ได้แก่  ประเพณีวิ่งควาย  ซึ่งเป็นงานประเพณีประจำท้องถิ่นของเทศบาลตำบลชุมแสง  ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน  เป็นประจำของทุกปี  และประเพณีนิยมตามเทศกาลและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เช่น  เทศกาลสงกรานต์  ลอยกระทง  เข้าพรรษา  ออกพรรษา  เป็นต้น

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

 

สภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม สวนผลไม้ สวนยางพารา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ ลักษณะดินเหมาะแก่การเพาะปลูก อาชีพรอง รับจ้าง ค้าขาย เป็นต้น

 

  ธนาคาร

 ในเขตเทศบาลตำบลชุมแสงมีธนาคาร  2 แห่ง คือ

 1. ธนาคารกรุงไทย (จำกัด) มหาชน สาขาวังจันทร์

 2. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาวังจันทร์ (ธกส.)

 

รัฐวิสาหกิจ

 รัฐวิสาหกิจในเขตเทศบาลมี 2 แห่ง คือ                                                              

 1. ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอวังจันทร์                                                                    

 2. สำนักงานไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอวังจันทร์

 

หน่วยงานธุรกิจ

ปั๊มน้ำมันขนาดเล็ก 2 แห่ง  ตลาดสด 1 แห่ง

 

 การประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพของประชาชนในเขตเทศบาล  ประกอบอาชีพเกษตรกรประมาณ 70% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด  ได้แก่ การทำสวนผลไม้  ทำไร่  ทำสวนยางพารา เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม  ลักษณะของดินเหมาะแก่การเพาะปลูก  อาชีพที่รองลงมา ได้แก่  รับจ้าง  การค้าขาย  เป็นต้น

 

ด้านการบริการพื้นฐาน

การคมนาคมขนส่ง 

การคมนาคมขนส่งในเขตเทศบาลตำบลชุมแสง  ใช้ถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลัก  ซึ่งถนนสายหลักในพื้นที่ได้แก่  ถนนของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท  ส่วนถนนเชื่อมระหว่าง  หมู่บ้าน  และซอยต่าง ๆ ส่วนมากจะเป็นถนนเทศบาลเอง  โดยสรุปดังนี้

1.  ถนนลาดยางของกรมทางหลวง  มีทั้งสิ้น 2 สาย  ได้แก่

        1.  ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข  344  (บ้านบึง-แกลง)

        2.  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  3471  (วังจันทร์-บางบุตร)

- ทางหลวงหมายเลข 344 (บ้านบึง–แกลง) มีช่องจราจร 4 ช่องทางเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองชลบุรี-อำเภอแกลง จังหวัดระยอง

- ทางหลวงหมายเลข 3471 (ถนนสายวังจันทร์–บางบุตร) ยาวประมาณ 30 กม. เชื่อมระหว่างอำเภอวังจันทร์–อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

-ทางหลวงเทศบาล ถนนลาดยาง และถนนคอนกรีตในพื้นที่ชุมชน และร้อยละ 80 เป็นถนนลูกรัง

  2.  ถนนลาดยางของกรมทางหลวงชนบท                  

         1.  ถนนลาดยาง  ชุมแสง-หนองม่วง

         2.  ถนนลาดยาง  วังจันทร์-กันเกรา

         3.  ถนนเทศบาลมีทั้งสิ้น  24  สาย  ได้แก่ 

               1.  ถนนสายตลาดชุมแสง                                13. ถนนสายข้างร้าน ป. วัฒนา

               2.  ถนนสายเลี่ยงเมือง                                    14. ถนนสายหน้าโรงเรียนวังจันทร์

               3.  ถนนสายตลาดสด-สีแยกดาบเริงชัย               15. ถนนสายข้างร้าน ช.วัสดุก่อสร้า

               4.  ถนนสายบายพาส                                      16. ถนนสายหลังศูนย์มาลาเรีย

               5.  ถนนสายบ้านปู่ใหญ่                                   17. ถนนสายหลังวัดเขาตลาด

               6.  ถนนสายข้างกู้ภัย                                      18. ถนนสายหน้า อบต.พลงตาเอี่ยม

               7.  ถนนสายข้างโรงพยาบาลวังจันทร์                 19. สหกรณ์-คลองสอง 

               8.  ถนนสายทวีสุข(โต๊ะสนุก)                            20. สหกรณ์-มาบตอง

               9.  ถนนสายเข้าวัดชุมแสง                               21. สหกรณ์-พลงตาเอี่ยม

              10. ถนนสายหลังวัดชุมแสง                              22. ถนนสายข้างโรงไอติมเก่า

              11. ถนนสายโรงเรียนวังจันทร์-หลังมณีสิน            23. ถนนสายหลังตลาดชุมแสง

              12. ถนนสายขอบอ่าง                                      24. ถนนสายเขาตลาด-คลองไผ่

 

ไฟฟ้าและพลังงาน 

ภายในเขตเทศบาล  มีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือน ในปัจจุบันได้มีการขยายเขตไฟฟ้าออกไปถึงทุกหลังคาเรือน โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

 ไฟฟ้าที่ผลิตโดยการไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคคิดเป็นร้อยละ  95  ของพื้นทีj

 จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้            1,438 ครัวเรือน

 จำนวนครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้               -  ครัวเรือน

 จำนวนไฟฟ้าสาธารณะ                     520  จุด 

 จำนวนไฟฟ้าสาธารระที่ต้องการเพิ่ม   127  จุด

 จำนวนไฟฟ้าแบบโซล่าเซลล์                 -  จุด

 

การปะปา 

ปัจจุบันเทศบาลตำบลชุมแสงมีประปา จำนวน 2 แห่ง   มีระบบประปาแบบมาตรฐานผิวดิน

ปริมาณการผลิตน้ำ    30  ลบ.ม./ชั่วโมง

ที่อยู่อาศัย จำนวนผู้ใช้น้ำ   1,455  หลังคาเรือน

จำนวนหน่วยที่ใช้  19,926  หน่วย/เดือน

 ราชการ  จำนวนผู้ใช้น้ำ   62  ราย

จำนวนหน่วย   2,490  หน่วย/เดือน

รวม  จำนวนหน่วย   22,419  หน่วย/เดือน

 เขตจำหน่ายน้ำปัจจุบัน

 ตำบลชุมแสง  บางส่วนของหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 5

 เส้นทางวางท่อ 

- คลองสะพาน  2,520  เมตร   

- ตลาดชุมแสง  2,000  เมตร

 - คลองไผ่  2,100  เมตร   

- ร้านรสทิพย์  800  เมตร

- บายพาส  1,100  เมตร   

- พลงตาเอี่ยม  5,000  เมตร

 

  แหล่งน้ำที่ใช้ผลิตน้ำประปา 

อ่าง เก็บน้ำสาธารณะ  หลังที่ว่าการอำเภอวังจันทร์  พื้นที่ประมาณ  52  ไร่  ขนาดกักเก็บน้ำประมาณ  5,200,000  ลบ.ม. แหล่งน้ำสำรองได้แก่  สวนสาธารณะ  หลังตลาดชุมแสงพื้นที่ประมาณ  12  ไร่  ซึ่งถือได้ว่าเป็นปอดของชุมชนเมือง  โดยเป็นสวนสุขภาพ  และสถานที่ออกกำลังกายของประชาชน  มีสระน้ำอยู่ตรงกลางเก็บกักน้ำได้ประมาณ 30,000 ลบ.ม.  สามารถใช้ในการดับเพลิง  และเป็นแหล่งน้ำสำรอง

 

การสื่อสารและโทรคมนาคม 

มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข  จำนวน 1 แห่ง

 

โทรศัพท์ 

 ครัวเรือนในเขตเทศบาลมีโทรศัพท์บ้านใช้ครอบ คลุมทุกพื้นที่  นอกจากนี้  โทรศัพท์สาธารณะยังมีไว้ตามจุดต่างๆ  แต่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน